BETA GLUCAN
การเริ่มต้นของงานวิจัย เบต้ากลูแคน
ประวัติการวิจัยของเบต้า กลูแคน เริ่มต้นตั้งแต่ปี ค.ศ. 1940 (พ.ศ.2483) โดยถูกนักวิทยาศาสตร์พัฒนาจากผนังเซลล์ของยีสต์ เพื่อมาใช้กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของมนุษย์ในการต่อสู้กับโรคร้ายต่างๆในสมัยนั้น เช่น โรคมะเร็งและผู้ป่วยที่ต้องรับการรักษาด้วยวิธีฉายแสง โรคติดเชื้อต่างๆ แผลจากการผ่าตัด และแผลฝีหนอง ต่างๆ
เรื่องราวการวิจัยนี้เกิดขึ้นจากนักวิทยาศาสตร์ชาวฝรั่งเศส ชื่อ ดร. หลุยส์ พิวลีเมอ (Louis Pillemer, Ph.D) และทีมงาน ได้ศึกษาตัวยาผสม (Crude Mixture) ที่สกัดมาจากผนังเซลล์ของยีสต์ ซึ่งมีส่วนประกอบประเภท โปรตีน ไขมัน และแป้ง โดยเรียกตัวยาผสมนี้ว่า ไซโมซาน (Zymosan) และได้รายงานสรรพคุณไว้ว่าเป็นตัวยาที่สามารถเพิ่มอำนาจภูมิคุ้มกันของร่างกายอย่างไม่จำเพาะเจาะจง นั่นคือ ต่อต้านเชื้อจุลินทรีย์และสิ่งแปลกปลอมทุกชนิดไม่เลือกหน้า ไม่ว่าจะเป็นไวรัส แบคทีเรีย เชื้อราและมะเร็ง แต่ในขณะนั้น ดร.พิวลีเมอ ไม่ทราบว่าส่วนใดของยา Zymosan ที่ทำให้เกิดคุณสมบัติดังกล่าว และต่อมา ยา Zymosan นี้ได้ถูกนำมาใช้เป็นยาอย่างแพร่หลายทั่วยุโรป ซึ่งตอนนั้นตัวยา Zymosan มีราคาแพงมาก และยังมีผลข้างเคียงมาก เนื่องจากยังไม่บริสุทธิ์เพียงพอ พบว่ามีโปรตีนจากยีสต์ที่ปนเปื้อนมาด้วยก่อให้เกิด อาการแพ้ Allergy จนคนไข้ส่วนใหญ่ทนยาไม่ได้
การค้นพบเบต้ากลูแคนบริสุทธิ์
ในปี ค.ศ. 1960 (พ.ศ. 2503) ดร.นิโคลัส ไดลซิโอ (Nicholas Di-Luzio, Ph.D) จากมหาวิทยาลัยทูเลน (Tulane University) ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ทำการวิจัยขยายผลจนพบว่าสารซึ่งมีคุณสมบัติกระตุ้นภูมิต้านทานให้เข้มแข็งที่อยู่ในยา Zymosan นั่นก็คือ เบต้า 1,3 ดี กลูแคน (Beta 1,3 D Glucan) ซึ่งเป็นน้ำตาลกลูโคสเชิงเดี่ยว มีโมเลกุลเป็นรูป วงแหวนมาต่อกันเป็นเส้นตรงยาว เรียกว่า กลูแคน (Glucan)
จากการค้นพบนี้ทำให้นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบข้อมูลการทำงานที่แท้จริงของเบต้ากลูแคน ว่ามีความสามารถไปจับกับเซลล์เม็ดเลือดขาว เพื่อไปกระตุ้นให้เม็ดเลือดขาวแข็งแรงและทำงานได้ดีขึ้น จึงทำให้ระบบภูมิคุ้มกันเราแข็งแรงขึ้น และ เบต้ากลูแคนที่ดร.ไดลูซิโอ ค้นพบนั้นไม่มีผลทางด้านลบ เหมือนกับการใช้ยา Zymosan กล่าวคือ การใช้ยาเบต้ากลูแคนนั้นไม่พบว่าผู้ใช้มีอาการข้างเคียงเลย ยกเว้นยังมีราคาแพงมาก ทำให้เหมาะสำหรับซื้อไปใช้ทำงานวิจัยเพียงอย่างเดียวเท่านั้น
เบต้ากลูแคนกับการรักษามะเร็ง
บทบาทของเบต้ากลูแคนได้จุดกระแสความมีประสิทธิภาพทางยาขึ้นในปี ค.ศ.1975 (พ.ศ.2518) โดยนายแพทย์ ปีเตอร์ แมนเซล (Peter W Mansell, MD.) ได้เขียนผลการศึกษาลงในวารสารสถาบัน มะเร็งแห่งชาติสหรัฐอเมริกา โดยอธิบายถึงการฉีด Beta 1,3 D Glucan เข้าไปในก้อนเนื้องอกมะเร็งผิวหนัง (Melanoma) ของคนไข้ 9 คน พบว่า ขนาดของมะเร็งหดเล็กลงอย่างรวดเร็วภายในเวลา 5 วันและถ้าเป็น ก้อนเล็กๆ จะหายไปอย่างสมบูรณ์
หลังจากนายแพทย์แมนเซลได้ประกาศความสำเร็จของการใช้ เบต้ากลูแคน ชนิด 1,3 ดี กลูแคน (Beta 1,3 D Glucan) รักษามะเร็งผิวหนัง นักวิทยาศาสตร์ต่างๆ พากันตื่นตัว มหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียง หลายแห่งได้ทำการศึกษาวิจัยเพื่อความคืบหน้า เพราะมันเป็นรายงานจาก สถาบันมะเร็งแห่งชาติของอเมริกา (National Cancer institute, NCI) ซึ่งเชื่อถือได้ แต่ในเวลานั้นยังเป็นการใช้งานในลักษณะของโครงการวิจัยมากกว่าการนำไปใช้ทางธุรกิจ เพราะการสกัดเอาเบต้ากลูแคนออกมาในขณะนั้นยังทำได้ยาก และต้องใช้เครื่องมือซึ่งมีแรงกดสูง เพื่อให้ผนังเซลล์ยีสต์แตกราคาจึงแพงมากเกินไป ประกอบกับชนิดของมะเร็งที่รักษาก็คิดว่ายังเป็นเพียงมะเร็งผิวหนัง เท่านั้น
การค้นพบการทำงานของตัวรับ เบต้า กลูแคน ในเซลล์เม็ดเลือดขาว
ในทศวรรษ 1980 (พ.ศ. 2523) เป็นต้นมา มีงานวิจัยสำคัญที่ควรนำมากล่าวถึงซึ่งสร้างประกาย แห่งความมหัศจรรย์ทางเภสัชวิทยาให้กับเบต้ากลูแคนคือ การศึกษาของมหาวิทยาลัยฮาร์วาด (Harvard University) ที่นำโดย ดร.จอยซ์ ซอพ (Joyce K Czop, Ph.D) และคณะได้รับรายงานถึงการค้นพบตำแหน่งบนผิวของเยื่อหุ้มเซลล์เม็ดเลือดขาวขนาดใหญ่ (Macrophage) ซึ่งจะจับกับ เบต้ากลูแคน ได้อย่างแม่นยำ และเฉพาะเจาะจงเปรียบเหมือนลูกกุญแจเข้าได้ อย่างพอดี ตำแหน่งดังกล่าวเป็นกลุ่มของโมเลกุลโปรตีนที่สร้างพื้นที่บนผิวของเม็ดเลือดขาวขนาดใหญ่ ชื่อแมคโครเฟจ Machophage พื้นที่ดังกล่าวมีรูปร่างขนาด 1-2 ไมครอน โดยมีความเหมาะสม พอดิบพอดี กับเบต้ากลูแคนเท่านั้น ซึ่งเรียกว่า “ตัวรับที่เฉพาะ” (Specific Receptor) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ Dentin-1 (เดนตินหนึ่ง)
เบต้า กลูแคน กับการช่วยผู้ป่วยที่รับการรักษาด้วยวิธีฉายแสง
ยุคกลางทศวรรษ 1980 (พ.ศ. 2523) กลุ่มนักวิจัยจาก มหาวิทยาลัยทูเลน (Tulane University of Medicine) ได้มีการรายงานว่า มีการฉีดสารเบต้ากลูแคนโดยตรงเข้าไปที่แผลที่ผ่าตัดรักษามะเร็งเต้านม (และยังถูกรักษาด้วยวิธีการฉายแสงด้วย) ผลที่ได้คือ แผลที่ผ่าตัดได้หายสนิทดี
ปี ค.ศ. 1985 (พ.ศ. 2528) กลุ่มนักวิจัยจาก สถาบันวิจัยรังสีวิทยาของหน่วยทหารของอเมริกา (U.S. Armed Forces Radiobiology Research Institutes) ได้ทำการวิจัยเรื่องเบต้ากลูแคนสามารถปกป้องการรับรังสีได้ โดยทดลองกับหนูที่ถูกให้รังสีขั้นรุนแรง โดยหนูทุกตัวจะได้รับสารเบต้ากลูแคนทางการกิน 70% ของหนูที่ได้รับเบต้ากลูแคนสามารถมีชีวิตอยู่รอดและฟื้นจากความเสียหายของเซลล์หลังจากรับรังสีขั้นรุนแรงมา จากการทดลองนี้ ทีมนักวิจัยได้แนะนำว่า สารสกัดเบต้ากลูแคนเป็นสารสกัดที่มีประสิทธิภาพสูงในการช่วยให้ร่างกายฟื้นฟูระบบภูมิคุ้มกัน และ ปกป้องจากการติดเชื้อต่างๆ หลังจากการรักษาด้วยวิธี เคมีบำบัด หรือ ฉายแสง สำหรับผู้ป่วยมะเร็ง อีกทั้งยังแนะนำว่าสารเบต้ากลูแคนนั้นทำงานเปรียบเสมือน สารต้านอนุมูลอิสระที่จะช่วยปกป้องเซลล์เม็ดเลือดขาวแมคโครฟาจ จากการทำลายโดย การฉายแสง สารพิษต่างๆ โลหะหนักต่างๆ และ อนุมูลอิสระ
เบต้ากลูแคนช่วยต่อสู้กับโรคติดเชื้อต่างๆและลดการใช้ยาแก้อักเสบ
จากงานวิจัยที่ทดลองในสัตว์ แสดงให้เห็นว่า สารเบต้ากลูแคนนั้นสามารถลดปริมาณการใช้ยาแก้อักเสบจากแผลผ่าตัดและการติดเชื้อต่างๆได้ โดยการทดลองใช้ในหนูพบว่า หนูที่มีเยื่อบุช่องท้องอักเสบที่ได้รับการรักษาด้วยเบต้ากลูแคนควบคู่กับการใช้ยาแก้อักเสบจะเพิ่มการมีชีวิตรอดอีก 56 %
ในปี ค.ศ. 1987 (พ.ศ. 2530) นายแพทย์ วิลเลียม บราวน์เดอร์ (William Browder, M.D.) จากมหาวิทยาลัยทูเลนได้ทำการศึกษากับคนไข้จำนวน 21 ราย ที่มีแผลจากการผ่าตัด โดยคนไข้ทั้งหมดนี้ได้รับสารเบต้ากลูแคนด้วยการฉีดทุกวันเป็นเวลา 1 สัปดาห์ นายแพทย์ บราวน์เดอร์ พบว่า การติดเชื้อของผู้ป่วยกลุ่มนี้ลดลงอย่างมาก ซึ่งมีเพียง 9.5 % ที่มีผลของการติดเชื้อ และถ้าเปรียบเทียบกับผู้ป่วยที่ไม่ได้รับสารเบต้ากลูแคนจะมีประมาณ 49% ที่ติดเชื้อ
การค้นพบว่าการทานให้ประสิทธิภาพสูง – จุดเริ่มต้นของผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
ถึงแม้ว่าการทดสอบเบต้ากลูแคนในยุคแรกๆ จะใช้วิธีการฉีดเป็นส่วนมาก ในปี ค.ศ. 1989 (พ.ศ. 2532) ดร. ฟิล วายด์ จากวิทยาลัยการแพทย์เบเยอร์ (Bayor College of Medicine) ยืนยันว่าการให้สารเบต้ากลูแคนกับผู้ป่วยโดยการกินนั้นมีประสิทธิภาพเท่าเทียมกับการให้เบต้ากลูแคนด้วยวิธีการฉีด งานวิจัยนี้เรียกได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นในการผลิตเบต้ากลูแคนมาเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเลยก็ว่าได้ โดยในเวลาต่อมาก็มีผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเบต้ากลูแคนเกิดขึ้นเพื่อจำหน่ายให้ผู้บริโภคในประเทศอเมริกา
ความสำเร็จ Clinical Test ของความสามารถในการฟื้นฟูร่างกายผู้ป่วยที่รับการรักษาด้วยวิธีฉายแสง
นายแพทย์ โดนัลด์ แครโรว์ (Donald Carrow, M.D.) ได้ทำการทดสอบกับคนไข้ที่รับการฉายแสงเพื่อรักษามะเร็งเต้านม ซึ่งการทดสอบนี้สามารถถือได้ว่าเป็น Clinical Tests นายแพทย์แคร์โรว์ได้ทำการทดลองกับคนไข้ในหลายกรณี เช่น มะเร็ง แผลเรื้อรัง การบำรุงสุขภาพ
นายแพทย์ แคร์โรว์ได้ฉีด สารเบต้ากลูแคน ปริมาณ 10 มิลลิกรัม เข้าไปในผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งผิวหนัง ในระยะเวลา 3 เดือน เนื้องอกที่คิดว่าจะเป็นมะเร็งผิวหนังนั้นหายไป และยังมีผู้ป่วยจำนวน 5 รายที่ รักษามะเร็งเต้านมด้วยการฉายรังสีที่ได้รับสารเบต้ากลูแคน ปริมาณ 7.5 มิลลิกรัมทุกวัน ผลปรากฏว่า ผู้ป่วยทั้งหมดไม่มีการแพ้ หรือ อาการข้างเคียงทางผิวหนังเลย และนอกไปจากนี้ นาบแพทย์แคร์โรว์ยังได้ทดลองให้สารเบต้ากลูแคนกับผู้ป่วยที่มีเนื้องอกที่คิดว่าจะป็นมะเร็ง เป็นระยะเวลา 2 เดือน ผลปรากฏว่าเนื้องอกนั้นหายไป จากการทดสอบนี้ ดร.แคร์โรว์สรุปได้ว่า สารเบต้ากลูแคนนั้นเป็นสารสกัดธรรมชาติที่สามารถกระตุ้นการทำงานของเซลล์เม็ดเลือดขาว แมคโครฟาจ ให้กลับมาทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การรักษาโรคที่ติดเชื้อจากเชื้อรา
จากงานวิจัยที่ผ่านมาเป็นที่รู้กันดีอยู่แล้วว่า เบต้ากลูแคนนั้นสามารถช่วยในการรักษาผู้ป่วยจากการติดเชื้อได้เป็นอย่างดี นักวิทยาศาสตร์ที่ University of Sao Paulo ประเทศบราซิล ได้ทดสอบความสามารถเพิ่มเติมของเบต้ากลูแคนในการช่วยเสริมภูมิคุ้มกันเพื่อต่อต้านการติดเชื้อทางผิวหนังจากเชื้อรา การทดลองนี้ได้ทำการทดสอบผู้ป่วยที่เป็นโรคติดเชื้อทางผิวหนังจากเชื้อรา จำนวน 9 ราย โดยได้มีการฉีดเบต้ากลูแคนให้ผู้ป่วยกลุ่มนี้ ทุกสัปดาห์เป็นเวลา 1 เดือน และหลังจากนั้น ฉีดให้ทุกเดือนเป็นเวลา 11 เดือน โดยการทดสอบนี้และทานยาที่ใช้รักษาโรคติดเชื้อจากเชื้อราควบคู่ไปด้วย โดยทศวรรษ 1980 (พ.ศ. 2523) เป็นต้นมา มีงานวิจัยสำคัญที่ควรนำมากล่าวถึงซึ่งสร้างประกาย แห่งความมหัศจรรย์
การวิจัย เบต้า กลูแคน ในปัจจุบัน
ปัจจุบัน มีหน่วยงานวิจัยต่างๆทั่วโลก โดยเฉพาะจาก มหาวิทยาลัยทางการแพทย์ชั้นนำของโลกหลายสิบแห่ง สนับสนุนสมรรถภาพของ เบต้ากลูแคน เช่น มหาวิทยาลัยฮาร์วาด มหาวิทยาลัยทูเลน มหาวิทยาลัยดิ๊ก มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย มหาวิทยาลัยหลุยส์วิล มหาวิทยาลัยวอชิงตันฯลฯ พร้อมทั้งยังมีเอกสารทางวิชาการมากกว่า 1,000 รายงาน มีผลการศึกษาค้นคว้า ซึ่งรับรองคุณภาพของเบต้ากลูแคน ว่าช่วยภูมิต้านทานทั้งสิ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งชนิด เบต้า 1,3 ดี กลูแคน (Beta 1,3 D Glucan)
ที่สำคัญรายงานจาก BetaGlucan Research Organization (องค์กรวิจัยเบต้ากลูแคน) ได้สรุปออกมาอย่างชัดเจนว่า More is not always better ซึ่งหมายถึง การทานเบต้ากลูแคนในปริมาณมากไม่ได้หมายความว่าจะส่งผลดีต่อร่างกายกว่าการทานในปริมาณที่น้อยกว่า แต่สิ่งที่สำคัญนั้นคือ คุณภาพของเบต้ากลูแคนที่ทานเข้าไป และ สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ขนาดของอนุภาคเบต้ากลูแคนที่ทานเข้าไป หรือ อาจจะพูดได้ว่า Size Does matter กล่าวคือ ขนาดของอนุภาคเบต้ากลูแคนที่ทานเข้าไปมีผลต่อประสิทธิภาพของระบบภูมิคุ้มกันมากกว่า ปริมาณที่ทานเข้าไป
โดยผลของการวิจัยนี้ยังระบุว่า ขนาดของอนุภาคเบต้ากลูแคนที่ทานเข้าไปนั้นควรอยู่ที่ประมาณ 1- 2 ไมครอน เพื่อที่จะให้เซลล์เม็ดเลือดขาวสามารถดูดซึมเข้าไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเมื่อทานเข้าไป อนุภาคของเบต้ากลูแคนจะไม่สามารถกลับมารวมตัวกันเป็นอนุภาคที่ใหญ่ขึ้นไปอีกและไม่สามารถถูกเม็ดเลือดขาวดูดกลืนไปใช้ประโยชน์ได้ และท้ายที่สุดจะถูกขับเป็นของเสียออกจากร่างกาย